ประวัติศาสตร์รำลึก

คิดถึง MDCU

ความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

เมื่อคณะแพทยศาสตร์ ได้จัดสร้างอาคารเรียนรวมขึ้นที่บริเวณตึกคณะแพทยศาสตร์ (ตึกสรีระวิทยา) เดิม และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นชื่ออาคารเรียนรวมนี้ว่า "อานันทมหิดล" เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2526 คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ (พ.ศ. 2525 - 2527) โดยนายแพทย์ปราสาท ปราสาททองโอสถ เป็นนายก ได้มีมติว่าสมควรที่จะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น ที่พระราชปรารภ ของพระองค์ท่านได้บันดาลให้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้ อีกทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมน้ำใจของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ และศิษย์ปัจจุบัน คณะกรรมการสมาคม จึงได้นำเรื่องปรึกษาหารือกับท่านคณบดี รศ. นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา ซึ่งท่านได้ให้ความเห็นชอบด้วย และได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง ดำเนินการเสนอสภากาชาดไทย เพื่อขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งได้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างที่เหมาะสมด้วย ในที่สุดได้มีมติให้สร้างประดิษฐาน ไว้บริเวณหน้าอาคาร "อานันทมหิดล" และได้ติดต่อปฏิมากร คุณไข่มุกต์ ชูโต เป็นผู้ดำเนินการปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ ทั้งนี้ สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการหาเงินทุนก่อสร้าง และคณะแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนในการขออนุญาตก่อสร้าง เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คณะแพทยศาสตร์และสภากาชาดไทยได้บริจาคสมทบทุนค่าก่อสร้างฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ รายละ 200,000 บาทด้วย

จำนวนผู้เข้าชม : 9

กองทุนช่วยเหลือศิษย์เก่า

และครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อน

กองทุนสำหรับการช่วยเหลือครอบครัวศิษย์เก่าที่ประสบปัญหา
ดำเนินการภายใต้มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย